ปัญหาธรรมวิภาค นักธรรมชันโท
หมวดที ๒ - ๓
อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง
๑.๒ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ นี้ เพราะเหตุไรจึงเรียกว่ากามคุณ ? ๒๕๔๔
= ๑.๑ กาม ได้แก่ ความใคร่ ความน่าปรารถนา ความพอใจแบ่งเป็ นกิเลสกามและวัตถุกาม
กามคุณ ได้แก่อารมณ์ที่ ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ซึ่งเป็นวัตถุกามนั่นเอง
๑.๒ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เรียกวากามคุณ เพราะเป็นกลุ่มแห่งกามและเป็นสิ่งที
ให้เกิดความสุข ความพอใจได้
๒.) ๒.๑ กรรมฐาน ๒ มีอะไรบ้าง มีอธิบายอยางไร ่ ? ๒๕๔๒
๒.๒ การทําใจให้นิ่งคือมีอารมณ์เดียวจัดเป็ นอะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ? ๒๕๔๒
= ๒.๑ กรรมฐาน ๒ มี
๑. สมถกรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ
๒. วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา
อธิบายวา สมถกรรมฐานเป็ นกรรมฐานเนื องด้วยบริกรรมอย่างเดียว ไม่เกี่ ยว
กับปัญญา ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานเนื องด้วยทัศนะทางใจ ปรารภ
สภาวธรรมและสามัญญลักษณะ
๒.๒ การทําใจให้นิ งมีอารมณ์เดียวจัดเป็ นสมาธิ มี ๒ คือ
๑. อุปจารสมาธิ สมาธิเป็ นแต่เฉียด ๆ
๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิอยางแน่วแน่
อธิบายวา สมาธิอันยังไม่ดิ่งลงไปแท้เป็นแต่จวน ๆ จัดเป็นอุปจารสมาธิ
ส่วนสมาธิอันดิ่ งลงไปสุขุมกวาอุปจารสมาธิ จัดเป็ นอัปปนาสมาธ
๓.) ๓.๑ บูชามีเท่าไร อะไรบ้าง ? ๒๕๔๐
๓.๒ การบูชาอยางไหนนับว่าเป็ นเลิศ เพราะเหตุไร่ ? ๒๕๔๐
= ๓.๑ บูชามี ๒ อยาง คือ อามิสบูชา ๑ และปฏิปัตติบูชา ๑
๓.๒ ปฏิปัตติบูชา นับว่าเป็นเลิศ เพราะพระพุทธศาสนาจะดํารงอยู่ได้นั้น ต้องอาศัยมี
ผู้ปฏิบัติตามคําสอนในพระพุทธศาสนา ถ้าไม่มีผู้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็ดํารงอยู่ ได้
ไม่นาน ถึงแม้จะมีผู้บูชาด้วยอามิสมากสักเท่าไร ก็ไม่อาจทรงพระพุทธศาสนาไว้ได้
๔.) ๔.๑ วิการในอุปาทายรูปมีกี อย่าง บอกมาให้ครบ ? ๒๕๓๙
๔.๒ ลักษณะในอุปาทายรูปมีกี อย่าง อะไรบ้าง ตอบมาให้ครบ ? ๒๕๓๘
= ๔.๑ วิการในอุปาทายรูป มี ๓ คือ
ลหุตา ความเบา อธิบายว่า รูปของคนยังเป็น ไม่หนักดุจรูปของคนตาย ๑
มุทุตา ความอ่อนสลวย อธิบายว่า รูปยังปกติ มีลําข้อ อาจคู้หรือ
เหยียดคล่องแคล่ว ไม่แข็งกระด้างดุจรูปของคนเจ็บคนตายแล้ว ๑
กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน คือ ความคล่องแคล่ว
๔.๒ ลักษณะในอุปาทายรูปมี ๔ คือ
๑. อุจจยะ ความรู้จักเติบขึ้น
๒. สันตติ ความสืบเนื องกัน เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไป ขนใหม่เกิดขึ้นแทน
๓. ชรตา ความรู้จักทรุดโทรม
๔. อนิจจตา ความไม่ยั่งยืน
๕. ) ๕.๑ พระเสขะ ผู้ยังต้องศึกษานั้น คือศึกษาเรื องอะไร ? ๒๕๔๑
๕.๒ อุจเฉททิฏฐิ กับนัตถิกทิฏฐิ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ่ ? ๒๕๔๑
= ๕. ๕.๑ พระเสขะ ต้องศึกษาสิกขา ๓ คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา
๕.๒ ต่างกัน อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นปฏิเสธเหตุผลในอนาคต เช่นเห็นว่าคนและสัตว์ตายแล้วสูญเป็ นต้น ส่วนนัตถิกทิฏฐิ ความเห็นปฏิเสธเหตุผลในปัจจุบัน เช่น ปฏิเสธสมมติ
สัจจะและกัมมัสสกตา เป็นต้น ต่างกันดังว่ามานี้
๖. ๖.๑ สังขาร ๓ คืออะไรบ้าง ? ๒๕๔๒
๖.๒ ที่ชื่อว่าสังขารเช่นนั้น เพราะอะไร ? ๒๕๔๒
= ๖.๑ สังขาร ๓ คือ
๑. กายสังขาร สภาพอันแต่งกาย
๒. วจีสังขาร สภาพอันแต่งวาจา
๓. จิตตสังขาร สภาพอันแต่งจิต
๖.๒ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ได้ชื่อว่า กายสังขาร เพราะปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วิตกและ
วิจาร ได้ชื อว่า วจีสังขาร เพราะตริตรองแล้วพูด ไม่เช่นนั้นจักไม่เป็นภาษา สัญญากับ
เวทนา ได้ชื่ อว่า จิตตสังขาร เพราะเป็ นเครื่ องยังจิตให้ตั้งอยู่ได้ ย้อมจิตให้มีประการ
ต่าง ๆ