- ประวัติความเป็นมา-วันสงกรานต์-ภาพ-บทกลอนเเละการ์ด-วันสงกรานต์
13,14,15/04/2559
สุขสันต์วันสงกรานต์ เนิ่นนานมาจากอดีต
ตำนานเล่าชีวิต จากวิถีธรรมไทย
รดน้ำวันสงกรานต์ เบาบานความโกรธทางใจ
ขอนำกุศลนี้ไป สงบจิตในโลกา...
--->>> มาอีกถึงเเล้ว !!! ครับ วันสงกรานต์ วันเเห่งการรดน้ำเล่นน้ำ ช่วงเเห่งความร้อน ร้อนกายร้อนใน ร้อนนอก ก็ชวนกันมาเล่นน้ำด้วยกัน นะครับ..."ขอให้ทุกๆคน เล่นน้ำอย่างมีความสุขนะครับ เเละปลอดภัยครับ " สุขสันวันสงกรานต์ครับ...
ประวัติความเป็นมา
สงกรานต์เป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยสันนิษฐานว่า เป็นประเพณีดั้งเดิมของอินเดีย ต่อมาได้แพร่ขยายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ ลาว เขมร พม่า จีน และไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงให้ต่างไปจากเดิมบ้าง ทั้งการประกอบพิธี รูปแบบ และพฤติกรรม ในประเทศไทย ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ได้มีประเพณีสงกรานต์มาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ เสถียรโกเศศสันนิษฐานว่า ไทยเรารับประเพณีขึ้นปีใหม่ ในวันที่ ๑๓ เมษายน มาจากอินเดียฝ่ายเหนือ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ตรงกับการเปลี่ยนจากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิ หรือที่เรียกว่าฤดูวสันต์ของอินเดีย จัดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของเขา เพราะเป็นช่วงที่อากาศไม่หนาวจัด ต้นไม้ผลิใบให้ความสดชื่น บังเอิญช่วงเวลานี้ตรงกับช่วงเวลาที่คนไทยเราในสมัยโบราณว่างจากการทำนาจึงเป็นการเหมาะสมสำหรับคนไทยที่จะฉลองปีใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
ตำนาน เกี่ยวกับสงกรานต์ยังมีปรากฏในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพน ฯ โดยย่อว่า เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้น ๆ นางสงกรานต์มีชื่อดังนี้
ทุงษเทวี เป็น นางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์
โคราดเทวี เป็น นางสงกรานต์ประจำวันจันทร์
รากษสเทวี เป็น นางสงกรานต์ประจำวันอังคาร
มัณฑาเทวี เป็น นางสงกรานต์ประจำวันพุธ
กิริณีเทวี เป็น นางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี
กิมิทาเทวี เป็น นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์
มโหทรเทวี เป็น นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์
กล่าวกันว่า นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์หรือท้าวมหาพรหม มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า เนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารจึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร ก่อนจะตัดเศียรท้าวกบิลพรหม ได้เรียกธิดาทั้ง ๗ ซึ่งเป็นนางฟ้า บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้ายทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ธิดาทั้ง ๗ จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของ ท้าวกบิลพรหมไว้คนละ ๑ ปี
เมื่อถึงวันสงกรานต์ คนไทยสมัยก่อนสนใจที่จะรู้ชื่อนางสงกรานต์ พาหนะทรง เพราะคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติ คำทำนายต่าง ๆ เป็นการเตรียมพร้อม ในการที่จะต้องเผชิญกับภาวะต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ผลิตผลและการทำมาหากินทั่วไป
วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางราชการ จึงได้เปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่ นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย
หน้าที่ของชาวพุทธที่ควรปฏิบัติ เนื่องในวันสงกรานต์ คือ
1. ควรไปทำบุญตักบาต ฟังธรรมที่วัด
2. ปฏิบัติธรรม เเละทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
3. ปล่อยนก ปล่อยสัตว์ เเละงดการทำบาปทั้งปวง
4. ตั้งสติในการใช้ชีวิตเเละคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อในสิ่งที่ดีสิ่งที่ใหม่ จะได้เข้ามาชีวิต...
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าชม...ครับ 2. ปฏิบัติธรรม เเละทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
3. ปล่อยนก ปล่อยสัตว์ เเละงดการทำบาปทั้งปวง
4. ตั้งสติในการใช้ชีวิตเเละคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อในสิ่งที่ดีสิ่งที่ใหม่ จะได้เข้ามาชีวิต...